บทที่2 ภาษาปาสคาล(Pascal)

บทที่2 ภาษาปาสคาล

     ภาษาปาสคาล เป็นภาษาโปรแกรมที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในวงการศึกษา คิดค้นขึ้นโดย นิเคลาส์ แวร์ท (Niklaus Wirth) นักวิทยาการคอมพิวเตอร์ชาวสวิตเซอร์แลนด์ ในปี ค.ศ. 1970 เพื่อช่วยในการเรียนการสอนการเขียนโปรแกรมโครงสร้าง (structured programming) ภาษาปาสคาลนั้นพัฒนาขึ้นมาจาก ภาษาอัลกอล (Algol), และชื่อปาสกาลนั้น ตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่ แบลส ปาสคาล (Blaise Pascal) นอกเหนือจากภาษาปาสคาลแล้ว แวร์ทได้พัฒนา ภาษาโมดูลาทู (Modula-2) และ โอบีรอน (Oberon) ซึ่งมีโครงสร้างคล้ายกับภาษาปาสคาล แต่สามารถรองรับการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (object-oriented programming). โครงสร้างอย่างง่าย - โปรแกรมภาษาปาสคาลทุกอัน จะเริ่มต้นด้วยคีย์เวิร์ด Program และส่วนของโค้ดจะอยู่ระหว่างคีย์เวิร์ด Begin และ End ภาษาปาสกาลนั้นไม่สนใจความแตกต่างระหว่างตัวพิมพ์ใหญ่และตัวพิมพ์เล็ก ("end" มีผลเท่ากับ "End"). เซมิโคลอน (;) ใช้เพื่อแบ่งคำสั่ง และ มหัพภาค(.) ใช้เมื่อจบโปรแกรม (หรือยูนิต) ภาษาปาสคาลเป็นภาษาที่มีโครงสร้างที่ตายตัว เช่นการประกาศตัวแปร จะอยู่ระหว่าง Program กับ Begin โดยไม่สามารถไปประกาศที่อื่นได้เหมือนกับภาษา VB,C หรือภาษาอื่น ๆ ทำให้ผู้เรียนได้ทราบถึงขั้นตอนการเขียนโปรแกรมที่ถูกต้อง เพื่อง่ายต่อการตรวจสอบในภายหลัง

- ประวัติภาษาปาสคาล
  ภาษาปาสคาล ภาษาปาสคาลสร้างขึ้นเพื่อใช้สอนการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้เป็นระบบและมีระเบียบเป็นโครงสร้างเนื่องจากเป็นภาษาที่มีรูปแบบง่าย ต่อความเข้าใจ เขียนเป็นโปรแกรมได้เร็วแก้ไขปรับปรุงง่าย ผู้สร้างภาษานี้คือ ดร.เวียร์ เมื่อประมาณปี พ.ศ.2514 ซึ่งหลังจากออกแบบแล้ว ได้มีผู้นำไปเขียนเป็น โปรแกรมตัวแปร (COMPILER) โดยที่ตัวแปรที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ TURBO PASCAL ของบริษัทบอร์แลนด์และปัจจุบันได้ถูกพัฒนาไปเรื่อยๆ ในอดีตภาษาคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่าฟอร์แทรนและโคบอลเป็นภาษาที่นิยมให้มากที่สุด ภาษาฟอร์แทรนพัฒนาขึ้นใช้ในปี พ.ศ. 2499 เป็นภาษาที่ใช้เพื่อประยุกต์ งานด้านตัวเลขได้ดีเยี่ยม ส่วนภาษาโคบอลพัฒนาขึ้นในปี พ.ศ. 2502 มุ่งใช้งานด้านประมวลผลธุรกิจ สำหรับภาษาปาสคาลได้รับการพัฒนาขึ้นในปี พ.ศ. 2513 โดย นิเคลาส์ เวียร์ธ(Niklaus Wirth) แห่งเทคนิเคิล ยูนิเวอร์ซิตี้ ในเมืองซูริค ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมแพร่หลายในปัจจุบันและจะนิยมกันมาก ในอนาคต จุดประสงค์ของการใช้ภาษาปาสคาลเบื้องแรกก็คือ ฝึกนิสัยการเขียนโปรแกรมให้มีระเบียบระบบหรือฝึกการเขียนโปรแกรมโครงสร้าง ภาษาปาสคาลเป็น ภาษาที่ออกแบบขึ้นให้มีความง่ายต่อการทำงาน การเข้าใจและการใช้ ปาสคาลเป็นชื่อของนักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศสชื่อว่า Blaise Pascal ซึ่งได้คิดเครื่องคำนวณ ระบบกลไกขึ้นเป็นคนแรกจึงได้รับเกียรติให้ตั้งเป็นชื่อภาษาคอมพิวเตอร์ซึ่งเวียร์ธเป็นผู้สร้างภาษานี้ขึ้น ใช้กันกว้างขวางในสหรัฐอเมริกาและยุโรปเพื่อสอนการเขียน โปรแกรมโครงสร้าง และใช้เป็นภาษาเอนกประสงค์(general purpose) ซึ่งประยุกต์ใช้ได้ทั้งคอมพิวเตอร์เครื่องใหญ่และไมโครคอมพิวเตอร์โปรแกรมง่าย ๆ Advertisements

- คุณลักษณะของภาษา Pascal ภาษา Pascal จัดเป็นภาษาระดับสูง (High-Level language) อีกภาษาหนึ่ง ที่ได้รับความนิยมในการนำมาใช้ในวงการศึกษา เพราะเป็นภาษาที่มีลักษณะเด่นอยู่หลายด้าน เช่น 
1. รูปแบบของคำสั่งเป็นภาษา English
2. คำสั่งมีความง่ายต่อการทำความจดจำ เช่นคำว่า Begin , End , Read , Write หรือคำสั่งอื่น ๆ 
3.ลักษณะการทำงานของโปรแกรมจะเป็นการทำงานที่มีโครงสร้าง
4. มีการแปลคำสั่งแบบ Compile ทำให้สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว 
5. เหมาะกับงานทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นงานทางด้านวิทยาศาสตร์ทีมีการคำนวณ หรืองานทางด้านธุรกิจ แม้แต่งานทางด้านกราฟิกก็สามารถใช้ได้

- ตัวแปรภาษาปาสคาล Pascal compiler
ตัวแปร (Variables) เป็น Identifier สำหรับใช้เก็บ ค่าที่ไม่คงที่ ที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาในระหว่างการทำงานของโปรแกรม การเรียกใช้ตัวแปร จะเป็นการจองเนื้อที่ในหน่วยความจำของเครื่อง เพื่อเป็นตัวบอกตำแหน่งที่อยู่ของข้อมูลนั่นเองการเรียกใช้งานตัวแปร ก่อนการเรียกใช้งานตัวแปร ต้องมีการประกาศตัวแปรทุกตัว และกำหนดประเภทของตัวแปรไว้ ซึ่งแตกต่างจากการนิยามค่าคงที่ และประเภทของข้อมูลค่าคงที่ ขึ้นอยู่กับรายการข้อมูลที่กำหนดให้ค่าคงที่นั้นมีรูปแบบการประกาศดังนี้
รูปแบบ
VAR identifier = type;
ð Identifier       หมายถึง ชื่อตัวแปร (Variable name) ที่มีการเรียกใช้งานในโปรแกรม
ð Type               หมายถึง ชนิดของข้อมูลตัวแปรนั้น อาจจะเป็น integer, real หรือ string ก็ได้
หมายเหตุ ชนิดของข้อมูลที่เก็บอยู่ในตัวแปรแต่ละตัว ต้องสัมพันธ์กับชนิดของตัวแปรที่ประกาศไว้ในส่วนของ VAR ด้วย

- การดาวน์โหลดและติดตั้งโปรแกรม Free Pascal

โปรแกรม Turbo Pascal v7.0 พร้อมวิธีติดตั้ง แบบละเอียด โปรแกรมโหลดที่นี่ http://www.ziddu.com/download/5905916/Pascal.rar.html ลิงค์สำรองเกิดด้านบนเสีย Link หลังจากที่เราโหลดเสร็จ เราก็จะได้ไฟล์ Pascal.rar มา ให้เราแตกไฟล์ก็จะได้ โพลเดอร์มา 2 โพลเดอร์คือ Turbo Pascal v7.0 และ โพลเดอร์ Bin  จากนั้นให้เราเข้าโพลเดอร์ Turbo Pascal v7.0 แล้วไปที่ Install.exe  กด Enter ครับผม  กด Enter อีกครั้งครับ  กด Enter เลยครับ  ให้เลือกหัวข้อแรกแล้ว Enter ครับ  กด F9 ครับเพื่อเริ่มลง  รอมันลงแว๊ปเดียว  กด Enter เลยครับ  โปรแกรมจะให้เราอ่าน Readme กด ESC ปิดมันเลยครับ  มันจะมีหน้าจอดำดำโผล่มา ไม่ต้องสนใจมันครับปิดมันเลย  จากนั้นเราจะได้โพลเดอร์ Tp ในไดรท์ C: มา ให้เรา นำ Bin ที่แตกมาแล้ว Copy ลงในโพลเดอร์ C:tp นะ

- การสร้างของโปรแกรมภาษาปาสคาล โปรแกรมภาษาปาสคาลประกอบด้วยส่วนสำคัญต่าง ๆ 3 ส่วนคือ
1. ส่วนหัวโปรแกรม (program heading) 2. ส่วนประกาศ (program declarations) 3. ส่วนคำสั่งการทำงาน (program statements) ส่วนหัว (Heading) ประกอบด้วยประโยคเพียงประโยคเดียว ดังรูปแบบ Program ชื่อโปรแกรม; ชื่อโปรแกรม เป็นไปตามกฎเกณฑ์การตั้งชื่อของปาสคาล และจะต้องไม่ซ้ำกับชื่ออื่น ๆ ภายในโปรแกรม การกำหนดชื่อต้องเป็นไปตามกฎเกณฑ์ดังต่อไปนี้ 
1. ขึ้นต้นด้วยตัวอักษร แล้วตามด้วยตัวอักษร หรือตัวเลข หรือเครื่องหมายขีดล่าง เท่านั้น ตัวอักษรนี้จะเป็นตัวพิมพ์ใหญ่หรือตัวพิมพ์เล็กก็จะมีความหมายเช่นเดียวกัน
2. มีความยาวไม่เกิน 127 ตัวอักขระ แต่ตัวแปรภาษาสามารบอกความแตกต่างของชื่อแต่ละตัวได้เฉพาะอักขระ 8 ตัวแรกเท่านั้น สำหรับภาษาปาสคาลจะบอกความแตกต่างได้ถึง 60 ตัวอักขระ
3. ชื่อไม่ตรงกับคำสงวน (reserve words) ในภาษาปาสคาล คำสงวน หมายถึงคำที่มีกฎเกณฑ์การใช้และมีความหมายเฉพาะที่แน่นอน เช่น Begin…End,If.. Then….เป็นต้น ตัวอย่าง Program Tax;{โปรแกรมคิดภาษี} {} ข้อความที่อยู่ในสัญลักษณ์นี้ หมายถึง หมายเหตุหรือข้อความอธิบายไม่มีผลต่อโปรแกรม ส่วนประกาศ (Declaration part) โปรแกรมภาษาปาสคาลแตกต่างจากบางภาษาที่ต้องมีการกำหนดชื่อและชนิดของตัวแปรที่จะใช้ในโปรแกรมเสียก่อน ส่วนประกาศโปรแกรมได้แก่บริเวณตั้งแต่หลังส่วนหัวไปจนถึงข้อความก่อนคำว่า Begin ของโปรแกรมหลัก ส่วนประกาศโปรแกรมจะประกอบด้วย 
1. ส่วนประกาศเลเบล Labal
2. ส่วนประกาศชื่อค่าคงที่ Const 
3. ส่วนกำหนดแบบข้อมูล Type
4. ส่วนประกาศตัวแปร Var 
5. ส่วนโปรแกรมย่อย Procedure/Function ส่วนใดไม่ได้ใช้ก็ไม่ต้องประกาศ ส่วนคำสั่งการทำงาน (Statements) ส่วนคำสั่งของโปรแกรม จะอยู่ต่อจากส่วนประกาศ ขึ้นต้นด้วย Begin และจบด้วย End. ช่วงระหว่าง 2 คำนี้จะเป็นคำสั่ง จะต้องแยกแต่ละคำสั่งออกจากกันด้วย; โดยคำสั่งแต่ละคำสั่งจะมีผลให้มีการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง

- แบบของข้อมูล (Data Types )
ชนิดข้อมูล (Data Types) ในการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา Java เช่นการประกาศตัวแปร หรือกำหนดค่าข้อมูลต่างๆ ต้องระบุชนิดข้อมูลอย่างชัดเจน โดยชนิดข้อมูลในภาษา Java มี 2 ประเภท คือ 
1. ชนิดข้อมูลพื้นฐาน (Primitive Data Type) คือชนิดข้อมูลที่ใช้ในการเขียน โปรแกรมสำหรับเก็บข้อมูลชนิดต่างๆ ได้แก่ จำนวนเต็ม(Integer) จำนวนทศนิยม(Floating Point) ข้อมูลอักขระ(Character) และข้อมูลตรรกะ (Logical Data) 
2. ชนิดข้อมูลแบบอ้างอิง (Reference Data Type) คือชนิดข้อมูลที่มีการอ้างอิง ตำแหน่งในหน่วยความจำ ได้แก่ข้อมูลของคลาส เช่น String และข้อมูลแบบอาเรย์ ชนิดข้อมูลพื้นฐาน ในภาษา Java มีทั้งหมด 8 ชนิดข้อมูลโดยแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ประกอบด้วย 
1. ชนิดข้อมูลจำนวนเต็ม(Integer) ได้แก่ long, int, short และ byte 
2. ชนิดข้อมูลจำนวนทศนิยม(Floating Point) ได้แก่ double และ float
3. ชนิดข้อมูลอักขระ(Character) ได้แก่ char 
4. ชนิดข้อมูลตรรกะ (Logical Data) ได้แก่ boolean ชนิดข้อมูลแต่ละประเภทจะมีขนาดและช่วงค่าของข้อมูลแตกต่างกัน และสามารถสรุปประเภทชนิดข้อมูล ขนาดและช่วงค่าของข้อมูล และค่าเริ่มต้น 

-ชนิดข้อมูลจำนวนเต็ม(Integer) ชนิดข้อมูลจำนวนเต็มประกอบด้วย 4 ชนิดได้แก่ long, int, short และ byte เป็นชนิดข้อมูลที่ใช้เก็บข้อมูลตัวเลขจำนวนเต็มในทางคณิตศาสตร์ ช่วงของข้อมูลขึ้นอยู่ขนาดของตัวแปรที่ประกาศ ตัวอย่างเช่น ตัวแปร int จะมีขนาด 32 บิต เก็บข้อมูลได้ -2,147,483,648 ถึง 2,147,483,6

-ชนิดข้อมูลจำนวนทศนิยม(Floating Point) ชนิดข้อมูลจำนวนทศนิยม ประกอบด้วยข้อมูลที่เป็นตัวเลขทศนิยม เช่น 1200.578 การเขียนโปรแกรมด้วยภาษา Java จะประกาศตัวแปรด้วยคำว่า float และ double โดยชนิดข้อมูล float จะเก็บข้อมูล 32 บิตตามมาตรฐาน single precision คือมีส่วนละเอียดของตัวเลขจำนวน 24 บิต และส่วนเลขยกกำลัง 8 บิต และชนิดข้อมูล double จะเก็บข้อมูล 64 บิตตามมาตรฐาน double precision คือมีส่วนละเอียดของตัวเลขจำนวน 53 บิต และส่วนเลขยกกำลัง 11 บิต รูปแบบการตัวเลขทศนิยมมี 2 แบบ

- ตัวแปล (Variables) ประเภทของตัวแปร การแบ่งประเภทของตัวแปรขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่นำไปใช้พิจารณาคุณสมบัติของค่าตัวแปร การจัดประเภทของตัวแปร ดังเช่น

1.ใช้ระดับของการวัดเป็นเกณฑ์ในการแบ่งตัวแปร จะแบ่งตัวแปรได้ 4 ระดับ เช่น 
1.1 ตัวแปรนามบัญญัติ (Nominal Variable) คือ ตัวแปรจัดประเภทหรือตัวแปรจัดกลุ่ม เป็นตัวแปรที่แบ่งตามชื่อหรือกลุ่มหรือประเภทของสิ่งนั้น ๆ เช่น เพศ แปรเป็น ชายและหญิง ศาสนา แปรเป็น พุทธ คริสต์ อิสลาม อื่น ๆ เป็นต้น

1.2 ตัวแปรอันดับ (Ordinal Variable) เป็นตัวแปรที่แบ่งตามระดับของตัวแปรที่สามารถจัดลำดับได้ หรือทราบได้ชัดเจนว่าอะไรมากกว่า หรืออะไรเกิดก่อน หรืออะไรดีกว่า เช่น ลำดับการเกิด ระดับของข้าราชการ ยศ ตำแหน่ง เป็นต้น

1.3 ตัวแปรอันตรภาค (Interval Variable) เป็นตัวแปรที่เกิดจากระดับการวัดแบบอันตรภาค คือการวัดที่เริ่มจากศูนย์สมมุติ และช่วงระหว่าง 1 หน่วยการวัดมีค่าเท่ากันตลอด เช่น อุณหภูมิในระบบองศาเซลเซียส คะแนนสอบ เป็นต้น

1.4 ตัวแปรอัตราส่วน (Ratio Variable) เป็นตัวแปรที่เกิดจากระดับการวัดที่มีศูนย์แท้ (Absolute Zero) และ 1 หน่วยใด ๆ มีค่าเท่ากันหมด เช่น ความสูง ความเร็วรถ เป็นต้น

2. ใช้การทำหน้าที่ของตัวแปรเป็นเกณฑ์ จะแบ่งตัวแปรได้ 5 ประเภท ได้แก่

2.1 ตัวแปรต้นหรือตัวแปรอิสระ (Independent Variable) คือตัวแปรที่ทำหน้าที่เป็นสาเหตุของความผันแปรในสิ่งที่สนใจศึกษาในเรื่องหนึ่ง ๆ เช่น อาชีพ และระดับการศึกษาของผู้ปกครอง เป็นตัวแปรต้น ในงานวิจัยเรื่อง “ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียน”

2.2 ตัวแปรตาม (Dependent Variable) คือตัวแปรที่เป็นผลของตัวแปรต้นหรือคือตัวแปรที่ผู้วิจัยสนใจศึกษา เช่น ฐานะทางเศรษฐกิจ เป็นตัวแปรตามในงานวิจัยเรื่อง “การศึกษาองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อฐานะทางเศรษฐกิจของคนไทย”

2.3 ตัวแปรรอง (Moderator Variable) จัดเป็นตัวแปรต้นชนิดหนึ่ง แต่มีความสำคัญเป็นรองจากตัวแปรต้น บางทีอาจเรียกว่าตัวแปรกลาง เป็นตัวแปรที่มีผลต่อตัวแปรตามด้วย เช่น การเปรียบเทียบผลการสอนภาษาญี่ปุ่นด้วยวิธีทีพีอาร์กับวิธีปกติ มีนักเรียนกลุ่มหนึ่งถือเป็นกลุ่มทดลองได้รับการสอนด้วยวิธีทีพีอาร์ และนักเรียนอีกลุ่มหนึ่งได้รับการสอนด้วยวิธีปกติ ผลการเปรียบเทียบพบว่าผลสัมฤทธิ์นักเรียนทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกัน แต่เมื่อเปรียบเทียบระหว่างนักเรียนชายกับนักเรียนหญิงพบว่ามีความแตกต่างกัน หากนักวิจัยไม่สนใจตัวแปรรอง อาจทำให้สรุปผลวิจัยคลาดเคลื่อนได้ กรณีนี้

การแสดงผล (Display) การ์ดแสดงผลอาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าการ์ดวีดีโอหรือการ์ดจอ เป็นส่วนที่ทำหน้าที่นำผล การประมวลจากซีพียูไปแสดงบนจอภาพ การ์ดแสดงผลมีอยู่หลายแบบ ขึ้นอยู่กับลักษณะการนำไป ใช้งาน ถ้าหากเป็นการใช้งานทั่วๆ ไป เช่น พิมพ์งานในสำนักงาน ใช้อินเตอร์เน็ต อาจใช้การ์ดแบบ 2 มิติ ก็เพียงพอแล้ว แต่หากเป็นการ เล่นเกมใช้โปรแกรมประเภทกราฟิก 3 มิติ ก็ควรเลือกการ์ดจอ ที่จะ ช่วยแสดงผลแบบสามมิติหรือ 3D การ์ด

- ค่าคงที่ (Constant)  เป็นตัวแปรประเภทหนึ่งที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงค่าได้ในขณะที่โปรแกรมทำงาน นี่หมายความว่าเราจะต้องกำหนดค่าให้ตัวแปรในเวลาที่คอมไพเลอร์ทำงานหรือในตอนแรกที่เราสร้างตัวแปรแบบค่าคงที่ขึ้นมา ค่าคงที่ที่เราใช้กันบ่อยๆ นั้นเรียกว่า literal ซึ่ง literal สามารถแบ่งแยกได้เป็น integer, floating-point, characters, strings, Boolean, pointers และที่ผู้ใช้สร้างขึ้นเอง การเขียนโปรแกรมใช้งานคำนวน
1. ฟังก์ชัน scanf();เป็นฟังก์ชันที่ใช้รอรับค่าข้อมูลจากแป้นพิมพ์มาเก็บไว้ในตัวแปรเพื่อใช้ใน การคำนวณและการประมวลผล ถูกนิยามไว้ใน stdio.h รูปแบบ scanf (“ตัวกำหนดชนิดข้อมูล”,ตัวแปร);

ตัวอย่าง scanf(“%d”,&A); หมายถึง รอรับค่าข้อมูลเป็นเลขจำนวนเต็มมาเก็บไว้ที่ตัวแปร A &A คือที่อยู่ของ ตัวแปร A (Address A) scan(“%f”,&score); หมายถึง รอรับค่าข้อมูลเป็นเลขทศนิยมมาเก็บไว้ที่ตัวแปร score การใช้งานตัวแปรในภาษาซีต้องมีการตั้งชื่อตัวแปรและกำหนดชนิดของตัวแปรจึงจะ สามารถนำตัวแปรนั้นมาใช้งาน 
2 ข้อกำหนดการตั้งชื่อตัวแปรในภาษาซี 1. ชื่อตัวแปรตัวแรกต้องขึ้นต้นด้วยตัวอักษร เช่น key,num,score 
2. ไม่มีการเว้นวรรคแต่สามารถใช้เครื่องหมายขีดล่างขั้นได้ เช่น chk_sw,stop_motor 
3. ถัดจากตัวแรกจะเป็นตัวเลขหรือเครื่องหมายขีดล่างได้ เช่น a1,num1,score_
4. ตัวอักษรตัวเล็กและใหญ่แตกต่างกันเช่น a1,A1 ถือว่าเป็นคนละตัวแปร

5. ต้องไม่ตั้งชื่อซ้ำกับคำสงวนในภาษาซี อย่างเช่น if,do,while,printf ,elseฯลฯ

- การรับค่าจากแป้นพิมพ์ 
ก่อนอื่น เราต้อง import java.util.Scanner; เพื่อบอกให้ทราบว่า เราจะใช้ class Scanner เมื่อ import เสร็จแล้ว เราก็ต้องสร้างตัวแสกน โดยใช้คำสั่ง Scanner Sc = new Scanner(System.in); เมื่อ Sc คือตัวแปรที่ใช้รับค่าที่แสกนจากแป้นพิมพ์ เมื่อดูจากโค้ด จะเห็นว่า เราได้สร้างตัวแปรประเภท Scanner ชื่อว่า Sc โดยสร้างเป็นออบเจ็ค ซึ่งจะเห็นได้จาก new Scanner และในวงเล็บ System.in เพื่อให้ทราบว่ารับค่ามาจากแป้นพิมพ์นั่นเอง เมื่อได้ตัวแปรรับค่ามาแล้ว เราก็ต้องมาเอาตัวแปรที่รับค่านั้น มาแบ่งเป็นประเภทของข้อมูล แล้วยัดใส่ตัวแปรแต่ละประเภท ซึ่งใช้คำสั่งคือ String s = Sc.nextLine(); //ใช้สำหรับรับค่าเป็น Sting int i = Sc.nextInt(); //ใช้สำหรับรับค่าเป็น interger float f = Sc.nextFloat(); //ใช้สำหรับรับค่าเป็น float double d = Sc.nextDouble(); //ใช้สำหรับรับค่าเป็น double long l = Sc.nextLong(); //ใช้สำหรับรับค่าเป็น long …ฯลฯ…
- การเขียนโปรแกรมแบบเลือกทำด้วยคำสั่ง (if)
คำสั่ง if และ if-else คำสั่ง if รูปแบบของคำสั่ง if เป็นดังนี้  เงื่อนไขทางเลือก ที่เขียนอยู่ระหว่างเครื่องหมาย ( และ ) เป็นนิพจน์ใด ๆ ที่สามารถประเมินค่าได้ ในกรณีที่ เงื่อนไขทางเลือก มีค่าเป็น จริง และไม่เท่ากับ 0 จะประมวลผลคำสั่ง ในกรณีที่ เงื่อนไขทางเลือก มีค่าเป็น เท็จ และเท่ากับ 0 จะไม่ประมวลผลคำสั่ง 
   - การเขียนโปรแกรมแบบเลือกทำด้วยคำสั่ง (Case)
การพัฒนาโปรแกรมแบบเลือกหลายทาง โปรแกรมแบบเลือกหลายทางจะใช้สำหรับกรณีที่มีทางเลือกหลายทาง แต่ให้เลือกทำเพียงทางเลือกเดียวเท่านั้น การใช้ฟังก์ชัน switch ในการเขียนลักษณะการทำงานจึงเหมือนกับฟังก์ชัน if…else…ซ้อนกัน แต่ใช้งานได้สะดวกกว่า เหมาะอย่างยิ่งสำหรับเขียนโปรแกรม เพื่อสร้างทางเลือกรายการ (Menu) ของโปรแกรม ภาษาซีจึงมีคำสั่ง switch() สำหรับทำงานดังกล่าว และมีโครงสร้างของรูปแบบเลือกหลายทางโดยทั่วไปเขียนได้

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หน่วยที่ 4 โครงงานคอมพิวเตอร์